วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 16 

วันอังคาร ที่ 22 พฤศจิกายน 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

- ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนและในสัปดาห์นี้ก็จะเป็นการสอนกลุ่มหน่วยต่างๆตามวันที่ในแต่ล่ะกลุ่มได้จับสลากไว้

วันจันทร์ หน่วย ไก่
-เป็นการให้หยิบไก่ออกมาทีละตัวและแยกจำนวนไก่ที่เหมือนกันเข้าไว้ด้วยกันและนับจำนวนไก่ว่ามีกี่ตัว


วันอังคาร หน่วย นม 
-เป็นการสอนที่ให้เด็กดูความเหมือนและแตกต่างของนมช็อคดกแลตและนมถั่วเหลือง ว่า มีกลิ่น สี รสชาติ สถานะ ว่าเป็นเช่นไร




วันพุธ มีสองหน่วย คือ หน่วย ข้าว กับ ส้ม
หน่วยข้าว 
-เป็นการสอนที่ทำน้ำหมักเหมือนกับการทำcooking เพื่อให้เด็กได้แบ่งกลุ่มและทำน้ำหมักกัน




หน่วย ส้ม 
เป็นการสอน ถนอมอาหาร ว่าส้มที่แช่อิ่มกับส้มสดอันไหนที่อร่อยกว่ากัน และยังมีการสอน การทำขวดบ้าพลังอีกด้วย


วันพฤหัสบดี หน่วยกล้วย 
-เป็นการสอนเรื่องประโยชน์และโทษของกล้วย


วันศุกร์ หน่วย น้ำ 
-เป็นการทำ cooking การทำน้ำอัญชัน จะแบ่งเป็นฐานๆและให้นักศึกษาออกไปทำกิจกรรมในฐานต่างๆ 



การประยุกต์ใช้

-ในแต่ละหน่วยก็จะมีวิธีการสอนที่แตกต่างและเหมือนกันอยู้ที่ว่าจะประยุกต์ใช้อย่างไรแต่การสอนจะต้องเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน สิ่งที่สำคัญคือประสบการณ์ของเด็ก 

การประเมิน

ผู้สอน

-อาจารย์ได้ดูการสอนของแต่ละกลุ่มอย่างตั้งใจ และมีการอธิบายเพิ่มเติมหลังจากกลุ่มไหนที่จะต้องปรับปรุง

ตัวเอง

-วันนี้เป็นทั้งนักเรียนเป็นทั้งผู้ช่วยของกลุ่มตัวเอง ถือว่าได้ประสบการณ์ที่จะต้องนำไปปฏิบัตในอนาคต

เพื่อน

-เพื่อนให้ความร่วมมือสามัคคีกันเป็นอย่างมาก ซึ่งแต่ละคนก็ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

การบันทึกครั้งที่ 15 

วันอังคาร ที่ 15 พฤศจิกายน 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

- ในสัปดาห์นี้นักศึกษาได้จับกลุ่มกันเป็นหน่วยที่ทำและเริ่มเขียนแผนการสอนตามวันที่ตัวเองได้เลือกไว้

"หน่วย นม "
  1. วันจันทร์ = กษมา เลือก ลักษณะของนม
  2. วันอังคาร = ปรีชญา เลือก ความแตกต่างของนม ช็อคโกแลต กับนมถั่วเหลือง
  3. วันพุธ = วนิดา เลือก การถนอมของนม
  4. วันพฤหัสบดี = ศิริพร เลือก ประโยชน์และโทษของนม
  5. วันศุกร์ = มาณิศา  เลือก ทำcooking จากนม คือนมปั่น 
"หน่วย นม" การสอนวันศุกร์  cooking  
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสระหว่างมือกับตาอย่างสัมผันธ์กัน
  2. เพื่อให้เด็กได้ฝึกการสังเกต
  3. เพื่อฝึกสมาธิเด็กในการทำกิจกรรม
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้  การทำ Cooking จากนม
ประสบการณ์สำคัญ
  1. ด้านร่างกาย เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กคือนิ้วมือ กับแขน
  2. ด้านสติปัญญา ได้แก้ไขปัญหา มีสมาธิ
  3. ด้านสังคม ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
  4. ด้านอารมณ์ -จิตใจ สนุกสนาน
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
- สงบเด็กโดยการร้องเพลง
ขั้นสอน 
 -แนะนำอุปกรณ์
-ถามประสบการณ์เด็ก
-บอกวัถดุดิบ
-วิธีการทำ 
-สรุป

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
  1. ชาร์ทเพลง วัตถุดิบ อุปกรณ์
  2. เครื่องปั่น อุปรณ์ในการทำ cooking
การวัดและประเมินผล
  1. สังเกตการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  2. การพูดคุยตั้งคำถาม
การบรูณาการ
  1. วิทยาศาสตร์
  2. คณิตศาสตร์






การประยุกต์ใช้

-เป็นการเรียนการสอนที่ต้องใช้แผน ทำให้รู้จักการเขียนแผนในแต่ล่ะวันที่ถูกต้องและยังต้องเชื่อมโยงกันอีกด้วยว่าในแต่ล่ะวันนั้นการสอนจะต้องสอดคล้องกันเด็กๆจะได้เรียนรู้ได้ไวและไม่สับสน

การประเมิน

ผู้สอน

-อาจารย์ได้เน้นและสอนในเรื่องการเขียนแผนที่ถูกต้องและละเอียด 

ตัวเอง

-วันนี้เป็นการเขียนแผนของตัวเองจะต้องคิดและทบทวนว่าในหน่วยของเรานั้น เป็นอย่างไร

เพื่อน

-เพื่อนแต่ละคนตั้งใจเขียนแผนการสอนเมื่อคนไหนไม่เข้าใจก็สามารถบอกเพื่อนอธิบายเพื่อนได้ทุกคน

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 14 

วันอังคาร ที่ 8 พฤศจิกายน 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ในสัปดาห์นักศึกษากลุ่ม 102 บ่าย วันอังคาร มีภาระกิจทำกิจกรรม

ต้อนรับคณะผู้มาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ เอกปฐมวัย


การบันทึกครั้งที่ 13 

วันอังคาร ที่ 1 พฤศจิกายน 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

- ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้แต่ล่ะกลุ่มเปิดวิดีโอของเล่นวิทยาศาสตร์มีทั้งหมด 4 กลุ่มดังนี้คือ

    กลุ่มที่ 1 เรื่อง พลังปริศนา


กลุ่มที่ 2 เรื่อง ขวดปริศนา


กลุ่มที่ 3 เรื่อง รถแกนหลอดด้าย


กลุ่มที่ 4 ลูกข่างนักสืบ (กลุ่มดิฉันเอง)

-ใช้ทำงานชิ้นนี้เพื่อเป็นสื่อใช้ในการเรียนการสอน
*VDO กลุ่มดิฉันงานที่ต้องปรับปรุง = ใส่ตัวหนังสือ ตัวเลข ขั้นตอนการทำ

-จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นั่งจับกลุ่มแล้วก็สอนหน่วยต่างๆที่มีการเรียนรู้คือ คณิต วอทยาศาสตร์ ภาษา ศิลปะ สังคม สุขศึกษา(พลศึกษา) โดยอาจารย์ได้เขียนตัวอย่างและอธิบายให้ฟังและดูแล้วจากนั้นก็ได้ให้แต่ละกลุ่มได้เริ่มเขียน Mind mapping *โดยกลุ่มฉันเขียนเรื่อง (นม)






ผลงานกลุ่ม นม








การประยุกต์ใช้

-สื่อตัวนี้เราใช้กับเด็กอนุบาลเราบรูณาการแล้วใช้ในการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ
-เราสอนผ่านVDO ชิ้นนี้ เราจะมีกระบวนการวิทยาศาสตร์
-เด็กได้ลงมือการกระทำ คือวิธีการเรียนรู้
-วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมประสบการ์ณ์ทั้ง 4 ด้าน
-การได้ประยุกต์หน่วยที่เราเรียนหรือใกล้ตัวเด็กมาใช้กับวิชาการเรียนรู้

การประเมิน

ผู้สอน

-วันนี้อาจารย์ได้ดูวิดีโอและได้บอกข้อปรับปรุงของแต่ละกลุ่มซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีที่อาจารย์ได้เสนอแนะและเราจะได้นำไปปรับปรุง 

ตัวเอง

-รับฟังข้อเสนอแนะของอาจารย์เป็นอย่างดีและจะนำไปปรับในครั้งหน้า

เพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจเรียนและได้ทำงานกลุ่มกันซึ่งแต่ละคน แต่ละกลุ่มก็แบ่งหน้าที่กันเป็นอย่างดีเมื่อเวลาอาจารย์สอนก็ตั้งใจฟังและตั้งใจถาม

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 12 

วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอมายแมบปิ้งในแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ส้ม

กลุ่มที่ 2 ไก่

กลุ่มที่ 3 ข้าว

กลุ่มที่ 4 กล้วย

กลุ่มที่ 5 น้ำ

กลุ่มที่ 6 นม

-จากนั้นก็จะเป้นการเรียน 8 กลุ่มสารระของวิทยาศาสตร์เพื่อดูว่าแต่ละกลุ่มแต่ละหน่วยนั้นสามารถนำสาระที่ 1 - 8 มาประยุกตืใช้ได้ไหมหรือว่านำมาใช้ได้แค่บางกลุ่มสาระไม่จำเป็นต้องนำมาทั้ง 8 สาระก็ได้



การประยุกต์ใช้

การทำมายแมบปิ้งนั้น คือจะต้องมีหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย การกระจายและมีการเพิ่มเติม มีสีสรรค์ อ่านและกระชับ และกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์นั้น สาระต่างๆสามารถนำไปใชข้กับเด็กๆได้เพัยงแต่เราจะต้องปรับปรุงจัดกิจกรรมตามที่เราคิดและสอน


การประเมิน

ผู้สอน

อาจารย์ยังคงสอนเรื่องมายแมบปิ้งว่าทำอย่างไรและยังสอนสาระต่างๆของวิทยาศาสตร์ให้นักศึกาาแต่ละคนนำไปใช้สอน 

ตัวเอง

ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนและคอยจดในสิ่งที่อาจารย์บอกและอธิบาย

เพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียนมากในวันนี้อาจารย์ถามอะไรก็สามารถบอกและตอบได้

การบันทึกครั้งที่ 11 

วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ในต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่นักศึกษาได้ประดิษฐ์เองมีของเล่นมากมายที่น่าสนใจ

  1. นาฬิกาทราย 
  2. ลวดเต้นระบำ
  3. วงโคจรของโลก
  4. ทวินเพน
  5. กล่องสุริยะจักรวาล
  6. โรงละคร ผีเสื้อเริ่งระบำ
  7. รางหรรษา
  8. ไข่หรรษา
  9. ภาพใต้น้ำ





-จากนั้นก็จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์มี 8 สาระ และยังมีทักษะของวิทยาศาตร์ 
  1. ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นปัญหา
  2. ตั้งสมมุติฐาน
  3. ทดลองใช้ทักษะสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล
  4. วิเคราะห์ สรุป อภิปราย

-ต่อมาให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มทำมายแมบปิ้ง ที่ใกล้ตัวเด็ก โดยมีประเด็น มีดังนี้
  1. ประเภท แบ่งเกณฑ์ ชนิด บอกชื่อ
  2. ลักษณะ เช่น สี รูปร่าง ขนาด รูปทรง กลิ่น ส่วนประกอบ
  3. การดูแลรักษา การถนอม การดำรงชีวิต
  4. ประโยชน์ เช่น สร้างรายได้ สร้างอาชีพ
  5. ข้อควรระวัง โทษ




มีทั้งหมด 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีหัวเรื่องดังนี้
  1. กล้วย
  2. น้ำ
  3. ส้ม
  4. ไก่
  5. ข้าว
  6. นม





การประยุกต์ใช้

-เชื่อมโยง สอดคล้อง บูรณาการทำให้มันสอดคล้องเชื่อมโยงกันและการที่เราบูรณาการ เราต้องดูจากสิ่งที่เด็กอยากรู้ สิ่งรอบตัวเด็ก มีผลกับเด็ก 


การประเมิน

ผู้สอน

อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับสาระวิทยาศาสตร์ และทักษะของวิทยาศาสตร์จากนั้นเมื่อนักศึกษาแต่ละกลุ่มทำมายแมบปิ้งเสร็จเรียบร้อย อาจารย์ยังได้อธิบายว่าแต่ละกลุ่มควรปรับปรุงตรงไหนบ้างและคอยเพิ่มตรงไหนบ้าง
ตัวเอง

ดิฉันได้ช่วยเขียนมายแมบปิ้งและก็คอยนำเสนอในแต่ละหัวข้อต่างๆให้เพื่อนๆได้ตัดสินใจ

เพื่อน

เพื่อนแต่ละคนมีหน้าที่ช่วยกันในการทำงานครั้งนี้ทำให้งานประสบผลสำเร็จ

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 10 

วันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ในช่วงต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำลำดับขั้นตอนSTEM



-จากนั้นเป็นการจับกลุ่มกันพูดคุยการทำงานที่เน้นการจัดประสบการณ์ ของเล่นที่เด็กสามารถทำตามเราได้และไม่ยุ่งยากมากเกินไป และนำไปลงใน Youtube



-ซึ่งกลุ่มของดิฉันนั้นได้ทำ "ลูกข่างนักสืบ"
เป็นการทำลูกข่างจากแผ่นซีดี สามารถใช้ได้ทั้งสองด้าน 
-ขั้นตอน
เราก็ถามเด็กๆว่ารู้จักไหม
ให้เด็กๆดูว่าข้างหน้านั้นมีอะไรบ้าง เอามาทำอะไรได้บ้าง

-จากนั้นก็จะเป็นการออกไปนำเสนอผลงานกลุ่ม
กลุ่มที่1 ลูกข่างนักสืบ (กลุ่มดิฉันเอง)


กลุ่มที่ 2 ปืนลม

กลุ่มที่ 3 แผ่นซีดีเป่าให้ลอย

กลุ่มที่ 4 รถจากหลอดด้าย



การประยุกต์ใช้

เกี่ยวกับเรื่องลูกข่างนักสืบที่กลุ่มของดิฉันได้ทำ คือ
-ลูกข่างทำให้เด็กรู้ แสง สี สีขาว ให้เด็กเกิดประสบการณ์เรียนรู้ วิธีถามเด็กๆว่ารู้ไหมว่า แสงสีขาวประกอบด้วยสีอะไรบ้าง
-ลูกข่างนักสืบทำอย่างไรบ้าง ถ้าเราหมุนจะเกิดอะไรขึ้น
-เก็บข้อมูล
-มีการหมุนแผ่นซีดีของเด็กแต่ละคนว่าของใครหมุนได้นานกว่าหรือของใครหยุดก่อน


การประเมิน

ผู้สอน

อาจารย์ได้อธิบายผลงานชิ้นต่างๆของเพื่อนๆและของกลุ่มดิฉัน ได้บอกเคล็ดลับในการที่จะใช้ในการสอนเด็ก ในการทำ VDO คอยให้ข้อมูลต่างๆมากมาย 

ตัวเอง

ในวันนี้ดิฉันตั้งใจช่วยเพื่อนๆคิดกิจกรรมที่จะนำไปใช้ในการสอนได้เสนอแนวคิดต่างๆ

เพื่อน

เพื่อนๆทุกคนมีหน้าที่เป็นของตัวเองทำให้ทุกคนตั้งใจที่จะเรียนและฟังอาจารย์