วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 12 

วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอมายแมบปิ้งในแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ส้ม

กลุ่มที่ 2 ไก่

กลุ่มที่ 3 ข้าว

กลุ่มที่ 4 กล้วย

กลุ่มที่ 5 น้ำ

กลุ่มที่ 6 นม

-จากนั้นก็จะเป้นการเรียน 8 กลุ่มสารระของวิทยาศาสตร์เพื่อดูว่าแต่ละกลุ่มแต่ละหน่วยนั้นสามารถนำสาระที่ 1 - 8 มาประยุกตืใช้ได้ไหมหรือว่านำมาใช้ได้แค่บางกลุ่มสาระไม่จำเป็นต้องนำมาทั้ง 8 สาระก็ได้



การประยุกต์ใช้

การทำมายแมบปิ้งนั้น คือจะต้องมีหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย การกระจายและมีการเพิ่มเติม มีสีสรรค์ อ่านและกระชับ และกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์นั้น สาระต่างๆสามารถนำไปใชข้กับเด็กๆได้เพัยงแต่เราจะต้องปรับปรุงจัดกิจกรรมตามที่เราคิดและสอน


การประเมิน

ผู้สอน

อาจารย์ยังคงสอนเรื่องมายแมบปิ้งว่าทำอย่างไรและยังสอนสาระต่างๆของวิทยาศาสตร์ให้นักศึกาาแต่ละคนนำไปใช้สอน 

ตัวเอง

ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนและคอยจดในสิ่งที่อาจารย์บอกและอธิบาย

เพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียนมากในวันนี้อาจารย์ถามอะไรก็สามารถบอกและตอบได้

การบันทึกครั้งที่ 11 

วันอังคาร ที่ 18 ตุลาคม 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ในต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่นักศึกษาได้ประดิษฐ์เองมีของเล่นมากมายที่น่าสนใจ

  1. นาฬิกาทราย 
  2. ลวดเต้นระบำ
  3. วงโคจรของโลก
  4. ทวินเพน
  5. กล่องสุริยะจักรวาล
  6. โรงละคร ผีเสื้อเริ่งระบำ
  7. รางหรรษา
  8. ไข่หรรษา
  9. ภาพใต้น้ำ





-จากนั้นก็จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์มี 8 สาระ และยังมีทักษะของวิทยาศาตร์ 
  1. ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นปัญหา
  2. ตั้งสมมุติฐาน
  3. ทดลองใช้ทักษะสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล
  4. วิเคราะห์ สรุป อภิปราย

-ต่อมาให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มทำมายแมบปิ้ง ที่ใกล้ตัวเด็ก โดยมีประเด็น มีดังนี้
  1. ประเภท แบ่งเกณฑ์ ชนิด บอกชื่อ
  2. ลักษณะ เช่น สี รูปร่าง ขนาด รูปทรง กลิ่น ส่วนประกอบ
  3. การดูแลรักษา การถนอม การดำรงชีวิต
  4. ประโยชน์ เช่น สร้างรายได้ สร้างอาชีพ
  5. ข้อควรระวัง โทษ




มีทั้งหมด 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีหัวเรื่องดังนี้
  1. กล้วย
  2. น้ำ
  3. ส้ม
  4. ไก่
  5. ข้าว
  6. นม





การประยุกต์ใช้

-เชื่อมโยง สอดคล้อง บูรณาการทำให้มันสอดคล้องเชื่อมโยงกันและการที่เราบูรณาการ เราต้องดูจากสิ่งที่เด็กอยากรู้ สิ่งรอบตัวเด็ก มีผลกับเด็ก 


การประเมิน

ผู้สอน

อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับสาระวิทยาศาสตร์ และทักษะของวิทยาศาสตร์จากนั้นเมื่อนักศึกษาแต่ละกลุ่มทำมายแมบปิ้งเสร็จเรียบร้อย อาจารย์ยังได้อธิบายว่าแต่ละกลุ่มควรปรับปรุงตรงไหนบ้างและคอยเพิ่มตรงไหนบ้าง
ตัวเอง

ดิฉันได้ช่วยเขียนมายแมบปิ้งและก็คอยนำเสนอในแต่ละหัวข้อต่างๆให้เพื่อนๆได้ตัดสินใจ

เพื่อน

เพื่อนแต่ละคนมีหน้าที่ช่วยกันในการทำงานครั้งนี้ทำให้งานประสบผลสำเร็จ

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 10 

วันอังคาร ที่ 11 ตุลาคม 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ในช่วงต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำลำดับขั้นตอนSTEM



-จากนั้นเป็นการจับกลุ่มกันพูดคุยการทำงานที่เน้นการจัดประสบการณ์ ของเล่นที่เด็กสามารถทำตามเราได้และไม่ยุ่งยากมากเกินไป และนำไปลงใน Youtube



-ซึ่งกลุ่มของดิฉันนั้นได้ทำ "ลูกข่างนักสืบ"
เป็นการทำลูกข่างจากแผ่นซีดี สามารถใช้ได้ทั้งสองด้าน 
-ขั้นตอน
เราก็ถามเด็กๆว่ารู้จักไหม
ให้เด็กๆดูว่าข้างหน้านั้นมีอะไรบ้าง เอามาทำอะไรได้บ้าง

-จากนั้นก็จะเป็นการออกไปนำเสนอผลงานกลุ่ม
กลุ่มที่1 ลูกข่างนักสืบ (กลุ่มดิฉันเอง)


กลุ่มที่ 2 ปืนลม

กลุ่มที่ 3 แผ่นซีดีเป่าให้ลอย

กลุ่มที่ 4 รถจากหลอดด้าย



การประยุกต์ใช้

เกี่ยวกับเรื่องลูกข่างนักสืบที่กลุ่มของดิฉันได้ทำ คือ
-ลูกข่างทำให้เด็กรู้ แสง สี สีขาว ให้เด็กเกิดประสบการณ์เรียนรู้ วิธีถามเด็กๆว่ารู้ไหมว่า แสงสีขาวประกอบด้วยสีอะไรบ้าง
-ลูกข่างนักสืบทำอย่างไรบ้าง ถ้าเราหมุนจะเกิดอะไรขึ้น
-เก็บข้อมูล
-มีการหมุนแผ่นซีดีของเด็กแต่ละคนว่าของใครหมุนได้นานกว่าหรือของใครหยุดก่อน


การประเมิน

ผู้สอน

อาจารย์ได้อธิบายผลงานชิ้นต่างๆของเพื่อนๆและของกลุ่มดิฉัน ได้บอกเคล็ดลับในการที่จะใช้ในการสอนเด็ก ในการทำ VDO คอยให้ข้อมูลต่างๆมากมาย 

ตัวเอง

ในวันนี้ดิฉันตั้งใจช่วยเพื่อนๆคิดกิจกรรมที่จะนำไปใช้ในการสอนได้เสนอแนวคิดต่างๆ

เพื่อน

เพื่อนๆทุกคนมีหน้าที่เป็นของตัวเองทำให้ทุกคนตั้งใจที่จะเรียนและฟังอาจารย์

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 9 

วันอังคาร ที่ 4 ตุลาคม 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ในวันนี้ได้มีรุ่นพี่ปี5 เอกปฐมวัย ได้มาทำการสอนเป็นกิจกรรม cooking ทาโกะยากิไข่ข้าว 
(หน่วย อาหารดีมีคุณค่า)


เพลง อาหารดี
อาหารดี  นั้นมีประโยชน์
คือผักสด เนื้อหมู  ปู  ปลา
เป็ด ไก่ ไข่นม ผลไม้นานา
ล้วนมีคุณค่า  ต่อร่างกายเรา

เพลง มือ
มือ มือ มือ มือ    มือของฉัน
วางมันไว้บนไหล่   มือน้อยน่ารัก
วางบนไหล่ฉันนี่  มือ มือ มือ มือ
มือของฉันวางมันไว้บนตัก
มือน้อยน่ารัก  วางบนตักฉันเอง

ขั้นนำ
1.ครูร้องเพลงอาหารดีมีคุณค่าให้ฟัง โดยเป็นการสงบเด็ก
2.ร้องเพลงตามทีละวรรค
3.ร้องเพลงตามคุณครู
-ใช้คำถามทบทวนเนื้อหา
-ในเพลงนี้มีอาหารที่มีประโยชน์อะไรบ้าง
-นอกจากในเพลงนี้ยังมีอาหารดีอะไรอีกบ้าง

ขั้นเสริมประสบการณ์
ก่อนแนะนำอุปกรณ์ ครูจะถามเด็กก่อน 
วัตถุดิบ
อุปกรณ์
1.               ไข่ไก่    30 ฟอง
1.               มีด      2   ด้าม
2.               ปูอัด     1  ถ้วยตวง
2.               เขียง    1  อัน
3.               ข้าว      โถ
3.               จาน     5  ใบ
4.               แครอท      1  หัว 
4.               เตาทาโกะ    2 ตัว 
5.               หอมหัวใหญ่     1 หัว
5.               ช้อน       5 อัน
6.               มะเขือเทศ     1  ลูก

7.               เครื่องปรุง

8.               มาการีน   1 กระปุก

9.               มายองเนส    1 ขวด




*ถ้าในส่วนที่สอนก็จะถามเด็กๆว่าอันนี้คือปูอัด แนะนำถ้าในส่วนที่เด็กๆไม่รู้จักก็จะให้เด็กพูดตามเรา
*แนะนำขั้นตอนเสร็จแล้วก็แนะนำขั้นตอนโดยครูจะหั่นให้เด็กดูก่อนแล้วก็หาเด็กให้มามีส่วนร่วมหาตัวแทนและทุกกิจกรรมต้องให้เด็กมีส่วนร่วม

*ขั้นตอนการทำทาโกะยากิ*
1.ใส่แครอท 2 ช้อน หอม 2 ช้อน มะเขือเทศ 2 ช้อน  ปูอัด 1 ช้อน  ข้าว 2 ช้อน
2.ใส่ไข่ 1 ฟอง ลงไปในถ้วยและก็ตี แล้วใส่เครื่องปรุงโดยใส่น้ำปลา *ห้ามใส่รสดี หรือสารปรุงแต่งที่มัน      ไม่มีประโยชน์
3.เปิดเครื่องทาโกะยากิ แล้วใส่มาการีลงไป รอให้ละลาย 
4.เมื่อมาการีเดือดแล้วก็หยอดส่วนผสมลงไปในกระทะให้เต็มหลุดพอสุกจะร่อนให้เอียงองศาเล็กน้อยทำให้ออกมาเป็นลูกกลมๆพอสุกแล้วคีบใส่จานราดด้วยมายองเนส

 *ส่วนผสมครูก็แนะนำว่าใส่น้ำปลาเท่าไร ใส่มะเขือเทศ กี่ช้อน

และการทำกิจกรรม cooking ทาโกะยากินั้น ก็แบ่งเป็นฐานๆ มี 4 ฐาน คือ

ฐานที่ 1 วาดรูปวัตถุดิบอุปกรณ์



ฐานที่ 2 เตรียมวัตถุดิบอุปกรณ์





ฐานที่ 3 รวมส่วนผสม




ฐานที่ 4 ลงมือทำทาโกะยากิ



*เด็กจะได้ทำทุกคน ทุกกิจกรรม ทุกฐานทุกโต๊ะต้องมีคุณครูคอยดูแล


*และเมื่อเราทำกิจกรรมสิ้นสุดแล้วช่วงท้ายพี่ๆหรือคุณครูก็ได้สรุปกิจกรรมที่ได้ทำมาว่า เด็กๆได้อะไรจากกิจกรรมนี้ และมีประโยชน์อะไร



การประยุกต์ใช้

-การทำทาโกะยากิก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เช่น การตั้งสมมุติฐาน  การเปลี่ยนแปลงของสี ความร้อน ต้องคอยถามเด็กอยู่ตลอดเวลา
-ให้เด็กออดไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม อธิบายให้เด็กฟังอยู่ตลอดและการทำกิจกรรมเหล่านี้เราไม่ควรเงียบแต่จะต้องคอยพูดคอยอธิบายให้เด็กๆได้ฟังและเข้าใจ

การประเมิน

ผู้สอน
-ในวันนี้อาจารย์ได้เข้ามาดูและแนะนำในส่วนต่างๆของกิจกรรมบางส่วน
-รุ่นพี่ปี 5 แต่ละคนมีหน้าที่เป็นของตัวเองและคอยสอนและอธิบายให้นักศึกษาฟังว่าขั้นตอนต่างๆต้องเป็นอย่างไรและก็ให้ทุกคนได้ร่วมมือกันทำกิจกรรม


ตัวเอง
-วันนี้ได้ทำกิจกรรมทุกฐานสนุกกับการได้ทำอาหารมาก อีกทั้งยังได้รับความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการที่เราจะต้องไปสอนเด็กจริงๆอีกด้วย


เพื่อน
-เพื่อนๆได้ลงมือทำกิจกรรม ร้องเพลง ทำกิจกรรม 4 ฐาน ต่างๆได้ออกไปทำกิจกรรมวนกันทำกิจกรรมกับเพื่อนๆสนุกมากๆเลยคะ

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8 

วันอังคาร ที่ 27 กันยายน 2559 

เวลาเรียน 13.30 -17.30

*สอบกลางภาค*