วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4 

วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ก่อนการเรียนอาจารย์ได้ให้เราคัดตัวพยัญชนะไทยหัวกลมตัวเหลี่ยม

-ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มล่ะถคนเพื่อที่จะได้ประดิษฐ์ผลงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับอากาศ โดยอาจารย์ได้ให้ คลิปหนีบกระดาษมา1อัน และกระดาษมา1แผ่น ให้ประดิษฐ์อะไรที่เกี่ยวกับอวกาศ โดยกลุ่มของดิฉันทำคือ กังหันลม


วิธีทำ
1.พับและตัดกระดาษให้เป็นรูปสีเหลี่ยมจตุจักร 
2.ตัดกระดาษทั้ง4มุม โดยประมาณ3ส่วน4 โดยเว้นตรงกลางไว้ 
3.จากนั้นก็พับกระดาษจากมุมที่เราตัดพับสลับกันให้ได้เป็นกังหันลม
4.จากนั้นก็จับมุมตรงกลางก็เจาะรูโดยใช้คลิปเอามาดึงให้ตรงและเจาะเข้าตรงและก็เอาปลายกังหันเจาะไปทีละอัน
5.ใช้ยางลบยึดทั้งสองด้านหน้า หลังไม่ให้ปลายกระดาษหลุด 









-จากนั้นก็เป็นการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 
การนำเสนอ ผ่านสื่อที่เป็นนิทานจากเรื่องเล่า เกี่ยวกับฝนจากอากาศ โดยสามารถให้เด็กได้ทดลองการลงมือกระทำเป็นวิธีที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

กลุ่มที่ 2



ใช้พัดเป็นสื่อการสอนเรื่องอากศ เด็กได้ประสบการณ์เรื่องอากาศ คือ ลม อากาศมีตัวตน ถ้าอากาศเคลื่อนที่เราจะเรียกอากาศว่าลมและพัดทำให้เด็กได้เล่น ได้ลงมือการทำทดลองพัดด้วยตัวเอง

กลุ่มที่ 3 กลุ่มดิฉัน


เก็บเด็กโดยใช้เพลง ตาดู หูฟัง จากนั้นก็อธิบายเกี่ยวกับกังหันลมโดยใช้อากาศให้เกิดลมปะทะกับกังหันให้เคลื่อนที่

กลุ่มที่ 4 


เก็บเด็กโดยใช้เพลง ซาลาเปา จากนั้นก็ได้อธิบายว่ากระดาษกับคลิบหนีบกระดาษอันไหนตกเร็วกว่าหรืออันไหนตกช้ากว่า เป็นการทดลอง แล้วตั้งสมมุติฐาน

กลุ่มที่ 5


ใช้เพลง นิ้วชี้ ใช้สื่อทำเป็นสภาพอากาศ มี4 ช่องคือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ อากาศเคลื่อนที่เรียกว่าลม อากาศมีแรงดัน อากาศมีน้ำหนัก เด็กจะได้ประสบการณ์เกี่ยวกับอากาศ เช่นถ้าลมน้อยวัตถุจะเคลื่อนที่ได้น้อยถ้าลมเยอะวัตถุจะเคลื่อนที่ได้เยอะ

กลุ่มที่ 6


ใช้เพลงกำมือ ใช้สื่อเรือใบแล้วจะใช้คำถาม แล้วจะให้เด็กเล่นเกมเกี่ยวกับลมบกและลมทะเล

-วันนี้ยกตัวอย่างประเด็นปัญหากระดาษกับคลิบกระดาษเท่านั้น
*อาจารย์สาธิตเอาถุงพลาสติกมาเก็บอากาศทำให้ถุงโป่งแล้วก็อธิบายว่าอากาศรอบๆตัวเราต้องการที่อยู่ และมีตัวตนแต่เราไม่สามารถมองเห็นได้
*การลงมือกระทำด้วยสัมผัสทั้ง5อย่างอิสระด้วยการเล่น คือการเรียนรู้ของเด็ก
*พัฒนาการของเด็ก แรกเกิด-2ปี 
*ธรรมชาติของเด็ก คือ ภาพรวม อยากรู้อยากเห็น
*คุณลักษณะตามวัย คือ พฤติกรรม

คำศัพท์
1.การเรียนรู้ = Learning
2.พัฒนาการ = Development
3.ภาพรวม = Overview
4.อยากรู้อยากเห็น = Curious
5.พฤติกรรม = Behavior


การประยุกต์ใช้

-การประยุกต์ใช้ในสัปดาห์นี้ สามารถนำผลงานของเพื่อนแต่ละกลุ่มที่ได้อธิบายให้เราฟังและคำอธิบายของอาจารย์ มารวบยอดผสมความคิดไปไว้ใช้การสอนเด็ก การให้เด็กรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ใช้เพียงแค่สื่อเล็กๆน้อยๆก็ใช้สอนได้หรือให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเอง

การประเมิน

ผู้สอน
-อาจารย์วันนี้ได้อธิบายความรู้เกี่ยวกับอากาศอย่างละเอียดทำให้นักศึกษาหลายๆคนได้รู้เรื่องของอากาศอย่างลึกซึ้ง ว่าอากาศมีตัวตนไหม อากาศเป็นอย่างไร และอาจารย์ได้สาธิตให้ดูอีกด้วยเป็นการเรียนที่คุ้มค่ามาก


ตัวเอง
-ดิฉันได้ช่วยเพื่อนๆทำงานกลุ่มโดยได้แบ่งหน้าที่กันเมื่อทำงานกลุ่มวันนี้และยังได้ระดมความคิดกับเพื่อนๆในเรื่องทำกังหันลมอีกด้วย


เพื่อน
-เพื่อนๆแต่ละกลุ่มก็ต่างทำหน้าที่ของตัวเองในวันนี้ซึ่งแต่ละคนก็ตั้งใจทำงานของตัวเองและงานกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น