วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7 

วันอังคาร ที่ 20 กันยายน 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ช่วงต้นชั่วโมงก่อนการเรียนอาจารย์ได้ให้นักศึกาาทุกคนคัดลายมือตัวกลมหัวเหลี่ยม ครั้งที่ 2


-เมื่อเข้าสู่การเรียนการสอนอาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 คนล่ะ หนึ่งแผ่น และสีเมจิกคนล่ะหนึ่งด้าม เพื่อที่จะนำเอาไปวาดรูปฝามือของตัวเอง เมื่อเราทามฝามือและขีดเสร็จเรียบร้อยแล้วจากนั้นก็จะเป็นการตีเส้นตรง โดยเอาสีที่ตัดจากสีเดิมมาขีดก่อน 1 เส้น                                                               
                              1                                                                                                        2
จากนั้นเส้นที่2ก็เอาอีกสีหนึ่งมาขีดใกล้ๆเส้นแรก 

-จากการทดลองนี้พบว่าการขีดเส้นในรูปนี้ก็จะเห็นว่ารูปจากแบนๆจะเห็นเป็นรูป3มิติ เราจะเห็นรูปนูนๆ
-จากนั้นอาจารย์ก็ได้แจกของเล่นวิทยาศาสตร์ในรูปแบบต่างๆให้นักศึกษาได้ทดลองเล่น






-เมื่อเล่นเสร็จแล้วก็จะเป็นการออกไปนำเสนอของเล่นของแต่ละคนโดยมีดังนี้


*แรงหนีศูนย์กลางและมีเรื่องของแรงพยุง
*จุดศูนย์ถ่วง
*ความหนาแน่น
*แรงยืดหยุ่น
*อากาศมีแรงดันทำให้วัตถุเคลื่อนที่ อากาศมีแรงดันเมื่อเป่า ระยะทางสั้น ยาว ทำให้เกิดเสียงแตกต่างกัน คือเรื่องของลม
*การเดินทางของเสียงงเกิดจากแรงเสียดสีทำให้เกิดการสะท้อน พอวัตถุกระทบกันแล้วเกิดการสั่นสะเทือน
*การดีด
*มวลของวัตถุ เช่น น้ำกับน้ำมัน น้ำมันเบาทำให้อยู่บนน้ำ

-จากนั้นก็จะเป็นการทดลองของอาจารย์
การทดลองที่1 เป็นการทดลองที่ใช้กรวยนำน้ำมาใส่เพื่อดูว่าน้ำรักษาระดับไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ 
การทดลองที่2 น้ำพุ เมื่อถือที่สูง น้ำก็จะไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ แต่ถ้าถือต่ำลงเรื่อยๆน้ำก็จะไหลออกมา

การทดลองที่3 ตัดดอกไม้แล้วพับเป็น 4 เหลี่ยมจากนั้นก็เอาไปลอยน้ำกระดาษก็จะค่อยๆบาน เป็นเพราะโมเลกุลของน้ำซึ่งเข้าไปในกระดาษเมื่อตั้งไว้นานๆกระดาษก็จะจม และเมื่อสีโดนน้ำสีก็จะละลายไปในน้ำเป็นความรู้ใหม่


ผลงานของดิฉันและเพื่อนๆ

การประยุกต์ใช้

-เด็กเห็นจะตั้งปัญหา หาทางแก้ปัญหา ตั้งสมมติฐานคาดการณ์หลังจากนั้นก็จะทดลองเมื่อการทดลองไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจก็จะปรับการทดลองใหม่  

การประเมิน

ผู้สอน
-อาจารย์ในวันนี้ตั้งใจสอนและอธิบายความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ และยังได้เอาของเล่นในรูปแบบต่างๆมาให้นักศึกษาได้ทำการทดลองอีกด้วย


ตัวเอง
-ทำงานในคาบและตั้งใจฟังที่อาจารย์และเพื่อนๆอธิบายของเล่นและความรู้ในส่วนต่างๆที่เรายังไม่รู้ทำให้ได้รู้เรื่องใหม่ๆและยังได้ทำการทดลองดูการสาธิตเรื่องน้ำอีกด้วย


เพื่อน
-เพื่อนๆในวันนี้ตั้งใจเรียนทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานและเมื่อออกไปนำเสนอของเล่นของแต่ละคนก็มีของเล่นที่แปลกใหม่และยังได้รับความรู้อีกด้วยคะ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6 

วันอังคาร ที่ 13 กันยายน 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ในช่วงต้นชั่วโมงอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละคนคัดตัวอักษรไทยตัวกลมหัวเหลี่ยม


-จากนั้นเป็นการเรียนการสอนโดยอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต =  ความสัมพันธ์โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การนำไปใช้

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม = สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต สถานที่

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร = น้ำกับน้ำมัน ของแข็งของเหลวเปลี่ยนยังไง สารมีสารอะไรบ้าง เกิดอะไรขึ้นบ้างแล้วเราจะเรียนรู้อะไร

สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ = แรงดันต่างๆสิ่งที่ทำให้เคลื่อนที่

สาระที่ 5 พลังงาน = พลังงานเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก = เข้าใจกระบวนการต่างๆการเกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกิดความไม่สมดุล

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ = ระบบสิ่งมีชีวิตบนโลก สุริยจักรวาล 

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี = สิ่งต่างๆเกิดความเปลี่ยนแปลงในการใช้ยุคต่างๆ

-จากนั้นอาจารย์ก็ได้เปิดวิดิโอให้ดูเป็นเรื่องเกี่ยวกับแสง





เนื้อหาในวิดิโอ จะพูดเกี่ยวกับแสงการทดลอง
วัตถุที่มีบนดลนี้มีทั้งหมด 3 สิ่งคือ
  1. วัตถุโปรงแสง = แสงผ่านไปบางส่วนเท่านั้น
  2. วัตถุโปร่งใส = เป็นวัตถุที่แสงผ่านไปได้ทั้งหมดทำให้เรามองเห็นได้
  3. วัตถุทึบแสง
แสงนำไปใช้ประโยชน์ = การผ่านเส้นตรงของแสงเอามาทำเป็นกล้อง
แสงเดินผ่านเป็นเส้นตรง
การสะท้อนของแสง
แสงมากระทบกับวัตถุแล้วมาสะท้อนกับตาทำให้เรามองเห็น
-การสะท้อนของแสง โดยอาจารย์ใช้กระจกและตุ๊กตาและดอกไม้มาวางไว้แล้วก็จะเกิดการสะท้อน



การประยุกต์ใช้

-เด็กลงมือทำ ริเริ่ม คล่องแคล่ว ยืดหยุ่น ละเอียดละออ ความคิดสร้างสรรค์ การจัดการศึกษาในเด็กเราควรบรูณาการต่างๆ

การประเมิน

ผู้สอน
-อาจารย์ได้อธิบายเรื่องแสง การทดลอง ให้นักศึกาาได้ฟังและยังพูดเกี่ยวกับของเล่นที่เราจะต้องนำมาใช้ประโยชน์ได้


ตัวเอง
-ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดูวิดิโอที่เกี่ยวข้องกับแสงและได้นำไปคิดต่อยอดอีกด้วย


เพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตอบคำถามที่อาจารย์ได้ซักถามและชั่วโมงสุดท้ายเพื่อนๆยังได้ช่วยกันตอบคำถามอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5 

วันอังคาร ที่ 6 กันยายน 2559 

เวลาเรียน 13.30 -17.30

วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากติดธุระไปหาหมอ

ของเล่นวิทยาศาสตร์

แผ่นสะท้อนแสง


อุปกรณ์

  1. แผ่นซีดี
  2. กาว
  3. เทปกาว
  4. ฝาขวดน้ำ
  5. กรรไกรแต่ควรเป็นของเด็กแบบพลาสติก
  6. ขวดน้ำที่ตัดเอาแต่ข้างบน


วิธีทำ
  1. นำเทปกาวมาติดขอบๆขวดน้ำเพื่อกันไม่ให้บาดเด็กและเพื่อความสวยงาม
  2. จากนั้นก็นำฝาขวดน้ำมาติดกาวและเอาไปติดตรงกลางแผ่นซีดีด้านที่สะท้อนแสง

  3. และอีกด้านหนึ่งก็ใช้ขวดน้ำที่เราติดเทปเสร็จมาติดกาวตรงด้านฝาขวดน้ำและติดลงไปตรงกลางอีกด้านของแผ่นซีดี
  4. จากนั้นก็รอให้กาวแห้งก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อบ


ประโยชน์หรือของเล่นชิ้นได้อะไรบ้างสำหรับเด็กปฐมวัย

       เป็นของเล่นที่เกี่ยวกับแสง การสะท้อนของแสง ซึ่งเกิดจากแสงสีขาวก่อนเพราะสีขาวประกอบด้วยหลายสีแสงแต่ละสีที่สะท้อนจากแผ่นซีดีจะแทรกสอดกัน บางมุมมเราเห็นสีมืด บางมุมเราเห็นแสงสว่างเพราะแสงมันตกกระทบกันแตกต่างกันบางครั้งเมื่อเห็นหลายสีจึงเห็นเป็นสีต่างๆ เราจึงเห็นเป็นสีรุ้นั่นเอง

การบันทึกครั้งที่ 4 

วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม 2559

เวลาเรียน 13.30 -17.30

ความรู้ที่ได้รับ

-ก่อนการเรียนอาจารย์ได้ให้เราคัดตัวพยัญชนะไทยหัวกลมตัวเหลี่ยม

-ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มล่ะถคนเพื่อที่จะได้ประดิษฐ์ผลงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับอากาศ โดยอาจารย์ได้ให้ คลิปหนีบกระดาษมา1อัน และกระดาษมา1แผ่น ให้ประดิษฐ์อะไรที่เกี่ยวกับอวกาศ โดยกลุ่มของดิฉันทำคือ กังหันลม


วิธีทำ
1.พับและตัดกระดาษให้เป็นรูปสีเหลี่ยมจตุจักร 
2.ตัดกระดาษทั้ง4มุม โดยประมาณ3ส่วน4 โดยเว้นตรงกลางไว้ 
3.จากนั้นก็พับกระดาษจากมุมที่เราตัดพับสลับกันให้ได้เป็นกังหันลม
4.จากนั้นก็จับมุมตรงกลางก็เจาะรูโดยใช้คลิปเอามาดึงให้ตรงและเจาะเข้าตรงและก็เอาปลายกังหันเจาะไปทีละอัน
5.ใช้ยางลบยึดทั้งสองด้านหน้า หลังไม่ให้ปลายกระดาษหลุด 









-จากนั้นก็เป็นการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 
การนำเสนอ ผ่านสื่อที่เป็นนิทานจากเรื่องเล่า เกี่ยวกับฝนจากอากาศ โดยสามารถให้เด็กได้ทดลองการลงมือกระทำเป็นวิธีที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

กลุ่มที่ 2



ใช้พัดเป็นสื่อการสอนเรื่องอากศ เด็กได้ประสบการณ์เรื่องอากาศ คือ ลม อากาศมีตัวตน ถ้าอากาศเคลื่อนที่เราจะเรียกอากาศว่าลมและพัดทำให้เด็กได้เล่น ได้ลงมือการทำทดลองพัดด้วยตัวเอง

กลุ่มที่ 3 กลุ่มดิฉัน


เก็บเด็กโดยใช้เพลง ตาดู หูฟัง จากนั้นก็อธิบายเกี่ยวกับกังหันลมโดยใช้อากาศให้เกิดลมปะทะกับกังหันให้เคลื่อนที่

กลุ่มที่ 4 


เก็บเด็กโดยใช้เพลง ซาลาเปา จากนั้นก็ได้อธิบายว่ากระดาษกับคลิบหนีบกระดาษอันไหนตกเร็วกว่าหรืออันไหนตกช้ากว่า เป็นการทดลอง แล้วตั้งสมมุติฐาน

กลุ่มที่ 5


ใช้เพลง นิ้วชี้ ใช้สื่อทำเป็นสภาพอากาศ มี4 ช่องคือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ อากาศเคลื่อนที่เรียกว่าลม อากาศมีแรงดัน อากาศมีน้ำหนัก เด็กจะได้ประสบการณ์เกี่ยวกับอากาศ เช่นถ้าลมน้อยวัตถุจะเคลื่อนที่ได้น้อยถ้าลมเยอะวัตถุจะเคลื่อนที่ได้เยอะ

กลุ่มที่ 6


ใช้เพลงกำมือ ใช้สื่อเรือใบแล้วจะใช้คำถาม แล้วจะให้เด็กเล่นเกมเกี่ยวกับลมบกและลมทะเล

-วันนี้ยกตัวอย่างประเด็นปัญหากระดาษกับคลิบกระดาษเท่านั้น
*อาจารย์สาธิตเอาถุงพลาสติกมาเก็บอากาศทำให้ถุงโป่งแล้วก็อธิบายว่าอากาศรอบๆตัวเราต้องการที่อยู่ และมีตัวตนแต่เราไม่สามารถมองเห็นได้
*การลงมือกระทำด้วยสัมผัสทั้ง5อย่างอิสระด้วยการเล่น คือการเรียนรู้ของเด็ก
*พัฒนาการของเด็ก แรกเกิด-2ปี 
*ธรรมชาติของเด็ก คือ ภาพรวม อยากรู้อยากเห็น
*คุณลักษณะตามวัย คือ พฤติกรรม

คำศัพท์
1.การเรียนรู้ = Learning
2.พัฒนาการ = Development
3.ภาพรวม = Overview
4.อยากรู้อยากเห็น = Curious
5.พฤติกรรม = Behavior


การประยุกต์ใช้

-การประยุกต์ใช้ในสัปดาห์นี้ สามารถนำผลงานของเพื่อนแต่ละกลุ่มที่ได้อธิบายให้เราฟังและคำอธิบายของอาจารย์ มารวบยอดผสมความคิดไปไว้ใช้การสอนเด็ก การให้เด็กรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ใช้เพียงแค่สื่อเล็กๆน้อยๆก็ใช้สอนได้หรือให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเอง

การประเมิน

ผู้สอน
-อาจารย์วันนี้ได้อธิบายความรู้เกี่ยวกับอากาศอย่างละเอียดทำให้นักศึกษาหลายๆคนได้รู้เรื่องของอากาศอย่างลึกซึ้ง ว่าอากาศมีตัวตนไหม อากาศเป็นอย่างไร และอาจารย์ได้สาธิตให้ดูอีกด้วยเป็นการเรียนที่คุ้มค่ามาก


ตัวเอง
-ดิฉันได้ช่วยเพื่อนๆทำงานกลุ่มโดยได้แบ่งหน้าที่กันเมื่อทำงานกลุ่มวันนี้และยังได้ระดมความคิดกับเพื่อนๆในเรื่องทำกังหันลมอีกด้วย


เพื่อน
-เพื่อนๆแต่ละกลุ่มก็ต่างทำหน้าที่ของตัวเองในวันนี้ซึ่งแต่ละคนก็ตั้งใจทำงานของตัวเองและงานกลุ่ม